การศึกษาระบบสารสนเทศสำหรับงานบำรุงรักษาของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

 

 

DOWNLOAD

รายงานผลการศึกษา

(PDF FILE)

 

 

การบำรุงรักษาทางพิเศษ

 

 

 

การบำรุงรักษาทางพิเศษ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบทางพิเศษ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อรักษาระดับการให้บริการที่ดีแก่ผู้ใช้ทางพิเศษ โดยการบำรุงรักษาแบบเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) เพื่อยืดอายุการใช้งานโครงสร้างทางพิเศษให้ยาวนานขึ้น และการบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Corrective maintenance) ในกรณีโครงสร้างทางพิเศษเกิดความเสียหาย

ภารกิจหลักในการบำรุงรักษาทางพิเศษ คือ การตรวจสอบ และ การบำรุงรักษา/ซ่อมแซม

การตรวจสอบ (Inspection) มีการดำเนินการตรวจสอบใน 3 ลักษณะ ดังนี้

 

1.

การตรวจสอบรายวัน (Daily Inspection) ตรวจสอบสภาพส่วนประกอบต่างๆ ของทางพิเศษ เช่น ผิวจราจร รอยต่อ กำแพงกันตก ราวเหล็ก ป้ายจราจร เป็นต้น เป็นประจำทุกวัน

 

2.

การตรวจสอบประจำ (Routine Inspection) เป็นการตรวจสอบโครงสร้างหลักของทางพิเศษ เช่น เสา คาน แผ่นพื้น เป็นต้น เป็นประจำทุกเดือน ตามแผนงานในแต่ละปี

 

3.

การตรวจสอบพิเศษ (Special Inspection) ตรวจสอบสภาพโครงสร้างทางพิเศษ นอกเหนือไปจากการตรวจสอบรายวัน และการตรวจสอบประจำ ด้วยวิธีการที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การทดสอบกำลัง การทดสอบความเป็นด่างของคอนกรีต การตรวจสอบสภาวะการเกิดสนิมเหล็ก การตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างสะพานพระราม 9 เป็นต้น

การบำรุงรักษา/ซ่อมแซม (Maintenance/Repair) แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม

 

1.

การบำรุงรักษา (Maintenance) เพื่อป้องกัน และยืดอายุการใช้งานของส่วนประกอบต่างๆ ของทางพิเศษ เช่น การบูรณะปรับปรุงผิวจราจร รอยต่อผิวจราจร และรอยต่อกำแพงกันตก ทำความสะอาดเครื่องหมายจราจร ป้ายจราจร และระบบระบายน้ำ เป็นต้น

 

2.

การซ่อมแซม (Repair) ความเสียหายที่ถูกตรวจพบ และถูกวินิจฉัยว่าอยู่ในระดับที่ต้องซ่อมแซม จะได้รับการพิจารณาหาวิธีซ่อมแซมที่ถูกต้องเหมาะสม อาทิเช่น การฉาบรอยกะเทาะของโครงสร้างคอนกรีต การซีลรอยแตกร้าวของโครงสร้างคอนกรีต การเปลี่ยนทดแทนราวกันตก เป็นต้น

 

 
ข้อสอบถามหรือข้อแนะนำ กรุณาส่งถึง issra@email.com
ปรับปรุงครั้งสุดท้าย : วันที่ 2 มีนาคม 2547